อาซูรอ...ขนมสานสามัคคีประเพณีดั้งเดิมที่อาจช่วยสร้างสันติภาพ
ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้มีขนมที่น่ารับประทานอยู่หลากหลายประเภทหนึ่งในนั้นก็คือ“อาซูรอ”(asuro)หรือที่คนในพื้นที่เรียกว่า“ซูรอ”ซึ่งก่อนจะมาเป็นขนมให้เราทานได้นั้นจะต้องผ่านการกวนซะก่อนเรียกว่า“การกวนข้าวอาซูรอ(ขนมอาซูรอ)”
คำว่า“อาซูรอ”นั้นเป็นภาษาอาหรับแปลว่าผสมหรือรวมกันคือการนำสิ่งของที่รับประทานได้หลายสิ่งหลายอย่างมากวนรวมกันมีทั้งคาวและหวานการกวนอาซูรอจะใช้คนในหมู่บ้านมาช่วยกันคนละไม้ละมือเริ่มด้วยการที่เจ้าภาพประกาศเชิญชวนนัดหมายให้ชาวบ้านทราบว่าจะมีการกวนข้าวอาซูรอกันที่ไหนและเมื่อไรจากนั้นชาวบ้านก็นำอาหารดิบเป็นต้นว่าเผือกมันฟักทองมะละกอกล้วยข้าวสารถั่วมากองรวมกันแล้วทำการล้างปอกหั่นให้เป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อยจากนั้นก็นำเครื่องปรุงอาทิข่าตะไคร้หอมกระเทียมผักชียี่หร่ามาตัดให้เป็นชิ้นเล็กๆแล้วมาผสมกันปรุงรสด้วยเกลือน้ำตาล
วิธีการกวนนั้นจะนำกระทะใบใหญ่มาตั้งไฟมีไม้พายสำหรับกวนซึ่งการกวนนั้นต้องใช้คนกวนครั้งละหลายๆคนนำน้ำกะทิที่ผสมเครื่องแกงต่างๆใส่ในกระทะ เมื่อกะทิเดือดก็ใส่อาหารดิบต่างๆคนด้วยไม้พายจนกระทั่งทุกอย่างเปื่อยยุ่ยและเป็นเนื้อเดียวกันเมื่อแห้งแล้วจึงตักใส่ถาดโรยหน้าด้วยไข่เจียวหั่นบางๆหรืออาจเปลี่ยนมาโรยหน้าด้วยกุ้งเนื้อสมันปลาสมันผักชีหอมหั่นฝอยแล้วแต่รสนิยมของแต่ละท้องถิ่นแต่ถ้าเป็นอาซูรอชนิดหวานจะมีส่วนผสมทุกอย่างเหมือนอาซูรอชนิดคาวใส่เครื่องเทศและอาหารจำพวกเนื้อเพิ่มน้ำตาลให้มากขึ้นและไม่ต้องโรยหน้าและก่อนจะแจกจ่ายให้รับประทานกันเจ้าภาพจะเชิญบุคคลที่นับถือของชุมชนขึ้นมากล่าวดุอาอ์ก่อนจากนั้นจึงจะแจกจ่ายให้รับประทานกันได้
ปัจจุบันกลุ่มแม่บ้านมีการประยุกต์ตกแต่งขนมจนมีความสวยงามน่ารับประทานและทางราชการมักใช้ขนมอาซูรอเป็นสื่อกลางสร้างความเข้าใจความสามัคคีระหว่างเจ้าหน้าที่ของรัฐกับประชาชนในพื้นที่และระหว่างประชาชนด้วยกันเองลดความหวาดระแวงและใกล้ชิดกันมากขึ้นไม่เพียงเท่านั้นการกวนอาซูรอยังเปิดโอกาสให้ผู้ที่นับถือศาสนาต่างกันสามารถเข้าร่วมในพิธีการกวนอาซูรอได้เป็นการกระชับไมตรีให้แต่ละศาสนามีความสัมพันธ์ใกล้ชิดที่ดีต่อกันมากขึ้น
แต่ณวันนี้ประเพณีการกวนอาซูรอกำลังเลือนหายไปจากสังคมมุสลิมใน3จังหวัดชายแดนภาคใต้เพราะปัจจัยในหลายๆด้านทั้งด้านการพัฒนาเทคโนโลยีสมัยใหม่ที่เข้ามามีอิทธิพลต่อวิถีชุมชนความขัดแย้งภายในที่มีบางกลุ่มไม่ยอมรับประเพณีดังกล่าวปัญหาความไม่สงบในพื้นที่และปัญหาที่เด็กมุสลิมรุ่นใหม่กำลังมองข้ามประเพณีดังกล่าวนี้ไป
ทำอย่างไรถึงจะสามารถคงประเพณีให้ยึดโยงสืบสานไปยังคนรุ่นหลังและอยู่กับท้องถิ่นได้ต่อไปสำหรับวันนี้คงไม่ใช่หน้าที่ของใครคนใดคนหนึ่งที่จะฟื้นฟูสืบสานประเพณีวัฒนธรรมอันดีงามของท้องถิ่นที่แฝงไปด้วยอัตลักษณ์แห่งความสมานฉันท์สันติภาพในหมู่ประชาชนพุทธและประชาชนมุสลิมได้เพียงกำลังแรงเดียว
การกวนข้าวอาซูรอ(ขนมอาซูรอ)ทางภาคใต้ตรงกับวันที่10เดือนมุฮัรรอมซึ่งเป็นเดือนแรกของปีของศาสนาอิสลาม(ประมาณเดือนพฤศจิกายนของทุกปี)ความเป็นมาของการกวนอาซูรอนั้นมีที่มาจากการเกิดน้ำท่วมใหญ่ในสมัยนบีนุฮ(อล)ทำให้เกิดความเสียหายแก่ทรัพย์สินไร่นาของประชาชนและคนทั่วไปต้องอดอยากนบีนุฮ(อล)จึงประกาศให้ผู้ที่มีสิ่งของเหลือพอจะรับประทานได้ให้เอามากองรวมกันและให้เอาของเหล่านั้นมากวนเข้าด้วยกันเพื่อให้ทุกคนได้มีอาหารรับประทานกันโดยถ้วนหน้า
topicza.com